แชร์ :   
  |  
  |  
  |  

                    นักศึกษาได้รางวัลชมเชยจากคณะกรรมการ และได้รับรางวัลชมเชยจากคะแนนโหวตจากการกดไลท์ใต้ภาพทีมที่ 4 และคะแนนโหวตจากฝาขวดน้ำพลาสติก ที่กล่องรับ อยู่บริเวณ ฮอล์ ชั้น 1 ริเวอร์ไซด์ พลาซา แบงค๊อก จุดที่แสดงงานประติมากรรม ในกิจกรรม Reduce Reuse Recycle 2019 ในหัวข้อ พลาสติกกับสายน้ำ จากนักศึกษา 7 มหาวิทยาลัย  ตั้งแต่วันนี้ 14- 19 พ.ย. 62 นี้ ที่ลานกิจกรรม Riverside Plaza ชั้น 1

ชื่อผลงาน : ภัยร้ายทำลายสิ้น : Endless disaster โดย     

  • น.ส.อภิญญา พิกุลทอง
  • น.ส.สิวาพร แสนคำปน
  • นาย ประพันธ์ ซิ้มงึ้น
  • นาย วิรุฬห์ เพ็งมณี 

นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาออกแบบทัศนศิลป์ หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

แนวความคิด

                   จากข่าวเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2562 ได้ศึกษาข่าวเรื่อง ปลาทู เนื่องจากปลาทูทะเลไทยได้มีการกินพลาสติกเข้าไปเฉลี่ย 78.04 ชิ้นต่อตัว จึงทำให้เกิดแรงบัลดาลใจในการนำรูปปลาทูมาสร้างผลงานประติมากรรม เพื่อที่จะเตือนผู้คนให้เลิกทิ้งขยะลงในบริเวณทะเล หรือ แม่น้ำ คู คลอง ต่างๆ เพราะจะส่งผลกระทบต่อสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเลจึงทำผลงานประติมากรรมชิ้นนี้ขึ้นมา เพื่อที่จะแสดงให้เห็นปัญหาของการทิ้งขยะเหล่านั้น

 

ที่ปรึกษา อาจารย์พัณณ์ภัสสร ภัทธภาสิทธิ วิชา ประติมากรรม

                   ในวิชาประติมากรรม ได้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างรูปทรงประติมากรรมด้วยเทคนิควิธีการที่หลากหลาย เช่นการปั้นดินเป็นประติมากรรมนูนต่ำ และลอยตัว เทคนิคการหล่อปูนพลาสเตอร์ ฯ ซึ่งช่วงปลายของภาคเรียน มีการรับสมัครเข้าร่วมงานประกวดประติมากรรมจากพลาสติก หัวข้อ สายน้ำกับพลาสติก จัดโดยศูนย์การค้า ริเวอร์ไซด์ พลาซ่า แบงค๊อก ทางอาจารย์พัณณ์ภัสสร เห็นว่างานประกวดดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา และสอดคล้องกับโปรเจคสุดท้ายที่เป็นงานสอบปลายภาคของวิชาประติมากรรม คือใช้เทคนิคจากวัสดุผสม จึงให้โปรเจคสุดท้ายของวิชาประติมากรรมเป็นการประกวดประติมากรรมจากพลาสติก และในส่งเป็นทีม หลังจากที่ได้ส่งชื่อเข้าร่วมประกวดแล้ว นักศึกษาได้ส่งแบบร่างพร้อมแนวคิดของแต่ละคนนำเสนอกับอาจารย์ และปรับแก้อยู่ 2 ครั้ง และได้โหวตเลือกแนวคิดเกี่ยวกับปลาทูที่เสียชีวิตจากการกินไมครอนพลาสติกเข้า ซึ่งเป็นผลเสียที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์จนกลายเป็นภัยร้ายที่ทำลายสัตว์น้ำ และธรรมชาติทางน้ำ ซึ่งสุดท้ายปลาทูซึ่งเป็นสัตว์น้ำก็มาเป็นอาหารของคน ผลกระทบจากการทิ้งขยะจึงเป็นภัยร้ายที่ทำลายระบบนิเวศให้สิ้นลงอย่างสิ้นเชิง

ขั้นตอนการดำเนินงาน

                   หลังจากได้แนวคิดละแบบร่างแล้ว ก็ได้ทำโครงสร้างเหล็กดัดรูปทรงเป็นปลาทู  หาขวดพลาสติกตามจุดคัดแยกขยะตามอาคารเรียน และหาขยะพลาสติกจากบ้านของแต่ละคนเช่นหลอด ขวดน้ำ ถุงพลาสติก ตาข่ายพลาสติกเหลือใช้ ถุงดำ และขอแผ่นพลาสติกแรปที่เหลือใช้จากพนักงานแมคโคร นำมาประกอบกับโครงสร้างเหล็กจนเป็นรูปทรงทู เมื่อประกอบเป็นรูปทรงประติมากรรมเสร็จ จึงนำไปติดตั้งที่ศูนย์การค้าริเวอร์ไซด์ พลาซ่า แบงค๊อก